เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [12. สัตตสติก ขันธกะ] 1. ปฐมภาณวาร
พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน ไม่รับทองและเงิน พวกพระสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรปล่อยวางแก้วมณีและทอง ปราศจากทองและเงิน”
ท่านทั้งหลาย ผู้ใหญ่บ้านชื่อมณีจูฬกะสามารถชี้แจงให้บริษัทนั้นเข้าใจ
ครั้นผู้ใหญ่บ้านชื่อมณีจูฬกะชี้แจงให้บริษัทนั้นเข้าใจแล้ว จึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้
มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้
มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ขอพระวโรกาส พวกข้าราชบริพาร
นั่งประชุมกันในราชบริษัท ภายในพระราชวังได้สนทนากันดังนี้ว่า ‘ทองและเงิน
สมควรแก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรหรือ พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
ยินดีทอง และเงินได้หรือ รับทองและเงินได้หรือ’
พระพุทธเจ้าข้า เมื่อบริษัทนั้นกล่าวอย่างนี้ ข้าพระองค์ได้กล่าวกับบริษัทนั้น
ดังนี้ว่า ‘นายท่านทั้งหลาย พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ ทองและเงินไม่สมควรแก่
พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรไม่ยินดีทอง
และเงิน ไม่รับทองและเงิน พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรปล่อยวางแก้วมณีและ
ทอง ปราศจากทองและเงิน
พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์สามารถชี้แจงให้บริษัทนั้นเข้าใจได้ เมื่อชี้แจง
อย่างนี้ ชื่อว่าชี้แจงตามพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ
แต่ชี้แจง ตามสมเหตุสมผล และคำกล่าวที่เหมาะแก่วาทะ1ของพระองค์จะไม่ถูก
ตำหนิบ้างหรือแม้น้อยหนึ่ง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ผู้ใหญ่บ้าน เอาเถอะ ท่านเมื่อชี้แจงอย่างนี้ชื่อว่าชี้แจง
ตามเรา ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ แต่ชี้แจงตามสมเหตุสมผล และคำกล่าวที่เหมาะ
แก่วาทะของเราจะไม่ถูกตำหนิบ้างหรือแม้น้อยหนึ่ง ผู้ใหญ่บ้าน ทองและเงินไม่สมควร
แก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรโดยแท้ พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรไม่ยินดี

เชิงอรรถ :
1 คำกล่าวที่เหมาะแก่วาทะ คือคำเดิมของพระองค์สมเหตุสมผลกับเหตุที่ผู้อื่นกล่าว หรือคำกล่าวตามคำ
ของพระองค์นั้นต่อ ๆ กัน แม้ มีประมาณน้อยจะไม่ถูกวิญญูชนตำหนิได้หรือ (วิ.อ. 3/290/180, สารตฺถ.ฏีกา
3/290/394, วิมติ.ฏีกา 2/290/247)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :398 }